ความพยายามส่งเสียงบอกรัฐให้เร่งจัดการปัญหาเหล้าปั่นและร้านเหล้ารอบสถานศึกษา ด้วยการให้ออกประกาศควบคุมโดยเร็ว เป็นเรื่องที่เครือข่ายเยาวชนพูดกันมายาวนาน เรียกได้ว่าไม่ว่าจะไปเวทีไหนก็ต้องพูดถึงเรื่องนี้ทุกครั้งไป โดยเหตุผลที่เหล่าเยาวชนมองเรื่องการออกมาตรการควบคุมร้านเหล้าให้ชัดเจนนั้น เป้าหมายเพื่อคุ้มครองเยาวชน เนื่องจากร้านเหล้ารอบสถานศึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าวิตก
ล่าสุด เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่จากองค์กรทั่วประเทศเข้าพบ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ เพื่อเรียกร้องให้แก้ปัญหาเหล้าปั่นรอบสถานศึกษา ที่ทำเนียบรัฐบาล ทุกเสียงของเยาวชนล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันโดยให้คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติเร่งพิจารณาร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมเหล้าปั่นและร้านเหล้าปั่นรอบสถานศึกษา และให้ขึ้นราคาใบอนุญาตดังกล่าวทำได้ยากขึ้น
อุกฤษฏ์ จันทวี ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ผู้ประสานงานเยาวชนหัวกะทิสร้างสรรค์ 9 สถาบัน หนึ่งในเครือข่ายเยาวชน กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทยอยู่ในภาวะวิกฤติแล้ว มีการสำรวจพบว่า เยาวชนอายุ 7ปี เริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วทั้งที่น้องๆ อยู่ในช่วงประมเท่านั้น ขณะที่เด็กที่อยู่ในช่วงชั้นมัธยมก็เข้าสู่วงจรนักดื่มหน้าใหม่ผ่านเหล้าปั่น โดยร้านมีกลยุทธ์ดึงดูดใจลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นมากมาย แต่งร้านน่ารักๆ ราคาก็โดนใจโดยเฉพาะเด็กผู้หญิงพบว่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเหล้าปั่น ซึ่งทุกวันนี้แทรกซึมเข้าสู่เด็กและเยาวชนไทยมาก ง่ายต่อการเข้าถึงร้านเหล้าเพราะตั้งอยู่โดยรอบสถานศึกษา และจำนวนร้านก็เพิ่มขึ้น
"หากยังมีร้านเหล้าปั่นล้อมรอบสถานศึกษา รอบมหาวิทยาลัยใกล้ๆโรงเรียนเพียงแค่ถนนคั่นกลางก็มีร้านเหล้า มองอนาคตของเด็กไทยไม่ออกว่าจะเป็นเช่นไร ไม่รู้ว่าจะมีเยาวชนอีกกี่คนที่ต้องตกเป็นทาสของน้ำเมา"
ผู้ประสานงานเยาวชนหัวกะทิสร้างสรรค์ฯ กล่าวว่า ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เข้มงวด มีร้านเหล้า ร้านค้า รวมถึงร้านสะดวกซื้อที่ฝ่าฝืนกฎหมาย จำหน่ายแอลกอฮอล์ให้กับเยาวชน อยากขอให้รัฐควบคุมให้มากขึ้นกว่านี้สำหรับร้านต่างๆ อยากให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม ช่วยกันดูแลเยาวชน ไม่ใช่มุ่งหารายได้เพียงอย่างเดียว สงสารลูกหลานของเรากันบ้าง นอกจากนี้ กลุ่มทุนที่ประกอบธุรกิจจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งมีผลประโยชน์มหาศาลจากธุรกิจน้ำเมา ควรหันกลับมายึดหลักธรรมาภิบาล เปลี่ยนไปประกอบธุรกิจสร้างสรรค์สังคม สมควรหยุดได้แล้ว ประเทศไทยต้องการคนที่มีศักยภาพในการทำงานมากกว่าคนเมาแล้วหลับหรือเมาแล้วขับ ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาอีกมากมาย ทั้งอาชญากรรม ความรุนแรง ยังไม่รวมถึงปัญหาสุขภาพที่มีงานวิจัยยืนยันว่า เหล้าเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมากกว่า 60 โรค ไม่ใช่แค่โรคตับแข็งที่ใครๆเข้าใจเท่านั้น
นอกจากนี้อุกฤษฏ์ได้กล่าวว่า หลังจากได้ยื่นหนังสือให้กับ พล.ต.สนั่น เพื่อให้เร่งจัดการออกประกาศหรือมาตรการต่างๆซึ่งในวันนั้นท่านก็รับปากจะจัดการให้ ทางเครือข่ายเยาวชนก็กำลังจับตาดูว่าจะมีความคืบหน้าเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ทราบว่าคณะกรรมการชุดนี้จะมีการประชุมต้นเดือนตุลาคม เรียกหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมาหารือและหาทางออกของการแก้ปัญหา หากได้ผลสรุปการประชุมที่ดี เป็นที่น่าพอใจ ผู้ใหญ่ช่วยจัดการปัญหานี้เพื่อให้เยาวชนรอดพ้นมหันตภัยน้ำเมา ทางเครือข่ายจะนัดรวมตัวอีกครั้ง เพื่อเดินทางไปยื่นหนังสือขอบคุณที่ทุกฝ่ายมีความจริงใจในการแก้ปัญหาแต่ หากไม่มีแนวทางปฏิบัติออกมาชัดเจนในการควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษาเราคงจะต้องหารือกันในเครือข่าย พร้อมทั้งกำหนดท่าทีในการเคลื่อนไหวเรื่องนี้ต่อไป จะไม่ละความพยายามอย่างแน่นอน
"การรวมตัวกันของเยาวชนเพื่อเรียกร้องในเรื่องนี้ เราหวังเห็นสังคมที่มีคุณธรรมจริยธรรมที่สำคัญต้องการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคมไทยที่มองว่า การดื่มสุราช่วยให้เข้าสังคมได้ ทำให้มีเพื่อน มีมิตรภาพเกิดขึ้น เพราะการอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นที่ยอมรับของคนอื่นนั้นขึ้นกับการประพฤติปฏิบัติตัวกับสังคม ไม่ใช่การดื่มเหล้าเบียร์"อุกฤษฏ์ ในฐานะตัวแทนเยาวชนกล่าวถึงเจตนารมณ์ในการทำงานต้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งพวกเขาต่างเห็นว่า การรุกเข้ามาของธุรกิจน้ำเมาเป็นภัยคุกคามเยาวชนที่ยิ่งใหญ่ในขณะนี้
*ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์*
วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552
“ขยายเวลาเล่นเกม” คุณคิดเห็นอย่างไร?
ผู้ปกครองหวั่นทำเด็กติดหนักมากขึ้น
ลองมาทบทวนกันดูหน่อยนะคะว่ากฎกระทรวงประกอบภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551 จำนวน 2 ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอะไรกันบ้าง ในที่นี้ดิฉันขอเฉพาะเจาะจง ว่าด้วยเรื่องของร้านเกมล้วนๆ ค่ะ
กำหนดระยะเวลาในการเล่นเกม และการใช้บริการร้านเกมของเด็กที่ผ่านกฎกระทรวง มีดังนี้
1) เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เข้าใช้บริการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ได้ตั้งแต่เวลา 14.00 - 20.00 น. และตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ในวันหยุดราชการ และวันปิดภาคเรียน
2) เด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 18 ปีเข้าใช้บริการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ได้ตั้งแต่เวลา 14.00 - 22.00 น. และตั้งแต่เวลา 10.00 - 22.00 น. ในวันหยุดราชการ และวันปิดภาคเรียน
หรือถ้าใช้ภาษาของร้านเกม ที่ส่งรายละเอียดผ่านเว็บไซต์แจ้งลูกค้าทางอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายก็คือ
ร้านเกม เวลา เปิด - ปิด 08.00 - 02.00 ของทุกวัน
ร้านอินเทอร์เน็ต เวลา เปิด - ปิด ตลอดเวลาทำการ ข้อห้าม วันจันทร์ - ศุกร์
เด็กต่ำกว่า 15 ปี 14.00 - 20.00 น.
เด็กต่ำกว่า 18 ปี 14.00 - 22.00 น.
วันหยุด วันปิดการเรียน เด็กต่ำกว่า 15 ปี 10.00 - 20.00 น.
อายุ 18 ปี 10.00 - 22.00 น.
และก็มีประโยคห้อยท้ายว่า "มีวิธีให้ท่านสมาชิกสามารถเปิดได้ 24 ชม.ได้ 365 วัน"
ขณะเดียวกัน ลองมาดูกฎกระทรวงเมื่อปี 2549 ก่อนที่จะมีการแก้ไขล่าสุด มีสาระสำคัญในเรื่องการควบคุมร้านเกมว่า ให้ควบคุมร้านเกมเหมือนกับร้านจำหน่ายสุรา คือ กำหนดอายุเด็ก 7 - 18 ปีห้ามเล่นเกิน 3 ชม. ตั้งแต่ 16.00 - 18.00 น. ในวันจันทร์ - ศุกร์ ส่วนเสาร์ - อาทิตย์ ให้เป็นไปตามเดิมแล้ว ทั้งยังห้ามไม่ให้อยู่ใกล้สถานศึกษา 500 เมตร และไม่ควรอยู่ในย่านชุมชน
เหตุผลในขณะนั้นเพราะเป็นกังวลต่อผลกระทบจากร้านเกมที่มีต่อเด็กนักเรียน เช่น ทำให้เด็กมีเวลาอยู่กับครอบครัวน้อยลงและไม่มีเวลาดูหนังสือ เป็นต้น ที่ประชุมจึงได้มีข้อเสนอแนะที่จะให้จำกัดอายุเด็ก และเวลาในการเล่นเกม โดยจะขอให้มีการแก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 12 พ.ศ. 2549 ในประเด็นอายุว่าควรกำหนดอายุของเด็กไว้ที่ 7 - 18 ปี และให้เข้าร้านเกมเล่นได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 16.00 - 18.00 น. ในวันจันทร์ศุกร์ ส่วนวันเสาร์ - อาทิตย์ก็ให้เป็นไปตามประกาศเดิม
สำหรับสถานที่ที่เปิดร้านเกม ก็จะขอให้ควบคุมเช่นเดียวกับการเปิดร้านจำหน่ายสุราที่ไม่ควรอนุญาตให้เปิดในรัศมี 500 เมตรรอบสถานศึกษา และไม่ควรให้อยู่ในย่านชุมชนด้วยคุณผู้อ่านรู้สึกอย่างไร ?
โดยเฉพาะคนเป็นพ่อแม่ คุณรู้สึกอย่างไร? เหตุไฉนการแก้ไขกฎกระทรวงกลับกลายเป็นว่าเด็กสามารถเข้าถึงร้านเกมในช่วงเวลาได้มากขึ้นกว่าเดิม ในทางตรงกันข้าม เท่ากับเอื้อประโยชน์ให้บรรดาร้านเกมมากขึ้นอีกต่างหาก
บรรดาคนเป็นพ่อแม่ที่ดิฉันได้มีโอกาสสัมผัส รวมถึงเปิดสายโทรศัพท์ผ่านทางคลื่นวิทยุที่ดิฉันเป็นผู้ดำเนินรายการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของคนเป็นพ่อแม่ต่อกรณีดังกล่าว ไม่มีใครเห็นด้วยต่อกฎกระทรวงล่าสุดที่ผ่านไปแล้วครั้งนี้ พร้อมทั้งบอกตรงกันว่าไม่เข้าใจว่าเหตุไฉนภาครัฐจึงปล่อยให้ผ่านไปได้
อีกทั้งประชาชนก็ไม่มีโอกาสมีปากมีเสียงต่อกรณีดังกล่าว ล่าสุด นพ.บัณฑิต ศรไพศาล จากสถาบันจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะได้อย่างน่าสนใจว่าปัญหาเรื่องเด็กติดเกมในปัจจุบันสถานการณ์รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
ตัวเลขจากกรมสุขภาพจิตพบเด็กที่ติดเกมรุนแรงเมื่อ 3 ปีที่แล้ว จำนวน 5% ต่อจำนวนประชากรเด็กทั้งหมด ปัจจุบันตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 9% และเด็กที่พบเป็นเด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในอดีตพบเด็กระดับมัธยมปลายเป็นปัญหามากที่สุด และขยับลงมาเป็นระดับมัธยมต้นปัจจุบันที่น่าเป็นห่วงลงมาถึงระดับประถมตอนปลาย
สาเหตุหลักมาจาก 2 ปัจจัย
ปัจจัยภายใน เกิดจากการที่เด็กต้องการได้รับการยอมรับอยากเป็นฮีโร่ และในโลกของเกมเขาสามารถเป็นได้รวมถึงเด็กไม่ได้รับการฝึกฝนเรื่องวินัยมาตั้งแต่เล็ก ก็เลยไม่สามารถหยุดเล่นเกมได้
ปัจจัยภายนอก เพราะเด็กสามารถเข้าถึงเกมได้ง่าย บางบ้านก็มีคอมพิวเตอร์ในบ้าน บางบ้านที่ไม่มี เด็กก็สามารถไปร้านเกมได้ไม่ยาก
แล้ววิธีป้องกัน ?
หนึ่ง - คนส่วนนี้เกี่ยวข้องกับพ่อแม่โดยตรง พ่อแม่ต้องเรียนรู้วิธีการดูแลลูกให้มากขึ้น ต้องมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบและสร้างวินัยให้แก่ลูกตั้งแต่ยังเล็ก
สอง - สิ่งแวดล้อมส่วนนี้เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ชุมชน ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย มีกิจกรรมที่เหมาะสม และทางเลือกให้แก่เด็กอย่างสม่ำเสมอ
สาม - ภาครัฐนั่นก็คือการจัดระเบียบร้านเกม ควบคุมการเปิดปิด รวมถึงการจัดเรตติ้ง และคำนึงถึงสถานที่ตั้ง
เรียกว่า ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมต่อปัญหาเรื่องเด็กติดเกมข้อหนึ่งและข้อสอง เข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องของคนเป็นพ่อแม่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ที่ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบไปได้ แต่ข้อสามนี่สิ เหตุใดจึงช่วยสนับสนุนให้ขยายช่วงจำกัดเวลาของร้านเกมให้มากขึ้น
ที่ผ่านมาการบังคับใช้กฎหมายดีๆ ในบ้านเราก็ไม่ค่อยได้ผลอยู่แล้ว ขนาดกฎกระทรวงครั้งนี้เอื้อให้แก่ร้านเกมเป็นอย่างมาก บรรดาร้านเกมเขาก็ยังมีเทคนิคบอกลูกค้ากันแล้วผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตว่ามีวิธีเล่นเกมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ยอมรับเถอะค่ะ...เรื่องเทคโนโลยีกับคนรุ่นใหม่ไปเร็วกว่าที่เราคิดเยอะ ยิ่งถ้าไม่เข้มงวดต่อมาตรการที่ต้องควบคุมเด็กและเยาวชนแล้วล่ะก็ น่าเป็นห่วงอย่างมาก
ดิฉันพยายามมองหาเหตุผลดีๆ เกี่ยวกับการประกาศกฎกระทรวงครั้งนี้ ว่าจะช่วยปกป้องเด็กและเยาวชนของเราได้อย่างไร มีอะไรซ่อนอยู่ที่เรามองไม่เห็นหรือเปล่าหนอ..!!
อยากจะถามดังๆ ว่าท้ายสุดใครคือคนที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ หากมาตรการล่าสุดมีส่วนต่อการทำให้เด็กติดเกมเพิ่มมากขึ้นและกลายเป็นผลเสียต่อสังคมโดยรวม
*ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTV ผู้จัดการ*
กำหนดระยะเวลาในการเล่นเกม และการใช้บริการร้านเกมของเด็กที่ผ่านกฎกระทรวง มีดังนี้
1) เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เข้าใช้บริการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ได้ตั้งแต่เวลา 14.00 - 20.00 น. และตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ในวันหยุดราชการ และวันปิดภาคเรียน
2) เด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 18 ปีเข้าใช้บริการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ได้ตั้งแต่เวลา 14.00 - 22.00 น. และตั้งแต่เวลา 10.00 - 22.00 น. ในวันหยุดราชการ และวันปิดภาคเรียน
หรือถ้าใช้ภาษาของร้านเกม ที่ส่งรายละเอียดผ่านเว็บไซต์แจ้งลูกค้าทางอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายก็คือ
ร้านเกม เวลา เปิด - ปิด 08.00 - 02.00 ของทุกวัน
ร้านอินเทอร์เน็ต เวลา เปิด - ปิด ตลอดเวลาทำการ ข้อห้าม วันจันทร์ - ศุกร์
เด็กต่ำกว่า 15 ปี 14.00 - 20.00 น.
เด็กต่ำกว่า 18 ปี 14.00 - 22.00 น.
วันหยุด วันปิดการเรียน เด็กต่ำกว่า 15 ปี 10.00 - 20.00 น.
อายุ 18 ปี 10.00 - 22.00 น.
และก็มีประโยคห้อยท้ายว่า "มีวิธีให้ท่านสมาชิกสามารถเปิดได้ 24 ชม.ได้ 365 วัน"
ขณะเดียวกัน ลองมาดูกฎกระทรวงเมื่อปี 2549 ก่อนที่จะมีการแก้ไขล่าสุด มีสาระสำคัญในเรื่องการควบคุมร้านเกมว่า ให้ควบคุมร้านเกมเหมือนกับร้านจำหน่ายสุรา คือ กำหนดอายุเด็ก 7 - 18 ปีห้ามเล่นเกิน 3 ชม. ตั้งแต่ 16.00 - 18.00 น. ในวันจันทร์ - ศุกร์ ส่วนเสาร์ - อาทิตย์ ให้เป็นไปตามเดิมแล้ว ทั้งยังห้ามไม่ให้อยู่ใกล้สถานศึกษา 500 เมตร และไม่ควรอยู่ในย่านชุมชน
เหตุผลในขณะนั้นเพราะเป็นกังวลต่อผลกระทบจากร้านเกมที่มีต่อเด็กนักเรียน เช่น ทำให้เด็กมีเวลาอยู่กับครอบครัวน้อยลงและไม่มีเวลาดูหนังสือ เป็นต้น ที่ประชุมจึงได้มีข้อเสนอแนะที่จะให้จำกัดอายุเด็ก และเวลาในการเล่นเกม โดยจะขอให้มีการแก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 12 พ.ศ. 2549 ในประเด็นอายุว่าควรกำหนดอายุของเด็กไว้ที่ 7 - 18 ปี และให้เข้าร้านเกมเล่นได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 16.00 - 18.00 น. ในวันจันทร์ศุกร์ ส่วนวันเสาร์ - อาทิตย์ก็ให้เป็นไปตามประกาศเดิม
สำหรับสถานที่ที่เปิดร้านเกม ก็จะขอให้ควบคุมเช่นเดียวกับการเปิดร้านจำหน่ายสุราที่ไม่ควรอนุญาตให้เปิดในรัศมี 500 เมตรรอบสถานศึกษา และไม่ควรให้อยู่ในย่านชุมชนด้วยคุณผู้อ่านรู้สึกอย่างไร ?
โดยเฉพาะคนเป็นพ่อแม่ คุณรู้สึกอย่างไร? เหตุไฉนการแก้ไขกฎกระทรวงกลับกลายเป็นว่าเด็กสามารถเข้าถึงร้านเกมในช่วงเวลาได้มากขึ้นกว่าเดิม ในทางตรงกันข้าม เท่ากับเอื้อประโยชน์ให้บรรดาร้านเกมมากขึ้นอีกต่างหาก
บรรดาคนเป็นพ่อแม่ที่ดิฉันได้มีโอกาสสัมผัส รวมถึงเปิดสายโทรศัพท์ผ่านทางคลื่นวิทยุที่ดิฉันเป็นผู้ดำเนินรายการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของคนเป็นพ่อแม่ต่อกรณีดังกล่าว ไม่มีใครเห็นด้วยต่อกฎกระทรวงล่าสุดที่ผ่านไปแล้วครั้งนี้ พร้อมทั้งบอกตรงกันว่าไม่เข้าใจว่าเหตุไฉนภาครัฐจึงปล่อยให้ผ่านไปได้
อีกทั้งประชาชนก็ไม่มีโอกาสมีปากมีเสียงต่อกรณีดังกล่าว ล่าสุด นพ.บัณฑิต ศรไพศาล จากสถาบันจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะได้อย่างน่าสนใจว่าปัญหาเรื่องเด็กติดเกมในปัจจุบันสถานการณ์รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
ตัวเลขจากกรมสุขภาพจิตพบเด็กที่ติดเกมรุนแรงเมื่อ 3 ปีที่แล้ว จำนวน 5% ต่อจำนวนประชากรเด็กทั้งหมด ปัจจุบันตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 9% และเด็กที่พบเป็นเด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในอดีตพบเด็กระดับมัธยมปลายเป็นปัญหามากที่สุด และขยับลงมาเป็นระดับมัธยมต้นปัจจุบันที่น่าเป็นห่วงลงมาถึงระดับประถมตอนปลาย
สาเหตุหลักมาจาก 2 ปัจจัย
ปัจจัยภายใน เกิดจากการที่เด็กต้องการได้รับการยอมรับอยากเป็นฮีโร่ และในโลกของเกมเขาสามารถเป็นได้รวมถึงเด็กไม่ได้รับการฝึกฝนเรื่องวินัยมาตั้งแต่เล็ก ก็เลยไม่สามารถหยุดเล่นเกมได้
ปัจจัยภายนอก เพราะเด็กสามารถเข้าถึงเกมได้ง่าย บางบ้านก็มีคอมพิวเตอร์ในบ้าน บางบ้านที่ไม่มี เด็กก็สามารถไปร้านเกมได้ไม่ยาก
แล้ววิธีป้องกัน ?
หนึ่ง - คนส่วนนี้เกี่ยวข้องกับพ่อแม่โดยตรง พ่อแม่ต้องเรียนรู้วิธีการดูแลลูกให้มากขึ้น ต้องมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบและสร้างวินัยให้แก่ลูกตั้งแต่ยังเล็ก
สอง - สิ่งแวดล้อมส่วนนี้เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ชุมชน ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย มีกิจกรรมที่เหมาะสม และทางเลือกให้แก่เด็กอย่างสม่ำเสมอ
สาม - ภาครัฐนั่นก็คือการจัดระเบียบร้านเกม ควบคุมการเปิดปิด รวมถึงการจัดเรตติ้ง และคำนึงถึงสถานที่ตั้ง
เรียกว่า ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมต่อปัญหาเรื่องเด็กติดเกมข้อหนึ่งและข้อสอง เข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องของคนเป็นพ่อแม่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ที่ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบไปได้ แต่ข้อสามนี่สิ เหตุใดจึงช่วยสนับสนุนให้ขยายช่วงจำกัดเวลาของร้านเกมให้มากขึ้น
ที่ผ่านมาการบังคับใช้กฎหมายดีๆ ในบ้านเราก็ไม่ค่อยได้ผลอยู่แล้ว ขนาดกฎกระทรวงครั้งนี้เอื้อให้แก่ร้านเกมเป็นอย่างมาก บรรดาร้านเกมเขาก็ยังมีเทคนิคบอกลูกค้ากันแล้วผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตว่ามีวิธีเล่นเกมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ยอมรับเถอะค่ะ...เรื่องเทคโนโลยีกับคนรุ่นใหม่ไปเร็วกว่าที่เราคิดเยอะ ยิ่งถ้าไม่เข้มงวดต่อมาตรการที่ต้องควบคุมเด็กและเยาวชนแล้วล่ะก็ น่าเป็นห่วงอย่างมาก
ดิฉันพยายามมองหาเหตุผลดีๆ เกี่ยวกับการประกาศกฎกระทรวงครั้งนี้ ว่าจะช่วยปกป้องเด็กและเยาวชนของเราได้อย่างไร มีอะไรซ่อนอยู่ที่เรามองไม่เห็นหรือเปล่าหนอ..!!
อยากจะถามดังๆ ว่าท้ายสุดใครคือคนที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ หากมาตรการล่าสุดมีส่วนต่อการทำให้เด็กติดเกมเพิ่มมากขึ้นและกลายเป็นผลเสียต่อสังคมโดยรวม
*ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTV ผู้จัดการ*
หมอแนะ ทริกง่ายๆ `Excercise สมอง'
ลดความเสี่ยง อัลไซเมอร์
พูดถึงเรื่องออกกำลังกาย ร้อยทั้งร้อยทุกคนต้องรู้จัก แต่ถ้าจะเอ่ยถึงการ"ออกกำลังสมอง" หลายคนอาจจะไม่เข้าใจและไม่รู้ต้องทำอย่างไร อีกทั้งไม่ทราบว่าต้องทำไปเพื่ออะไร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาได้ให้ความกระจ่างว่าการออกกำลังกายสมองมีประโยชน์มาก เพราะนอกจากจะทำให้เป็นคนมีความจำดี คิดอะไรได้รวดเร็วแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย
นพ.มัยธัช สามเสน ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา แนะนำวิธีการออกกำลังกายสมองแบบง่ายๆ เพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ว่า ตามปกติคนทั่วไปจะทำอะไรเป็นกิจวัตร มีอิริยาบถที่ซ้ำๆ ทำให้สมองที่ถูกใช้ก็จะเป็นส่วนที่ซ้ำเดิม วิธีการออกกำลังกายสมองก็คือ ใช้สมองส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ และใช้ให้ครบทั้งสองส่วน ด้วยการทำกิจกรรมที่ไม่เคยทำ หรือทำกิจกรรมสองอย่างไปพร้อมกัน
"นอกจากการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และกินอาหารที่มีสารบำรุงสุขภาพ เช่นโอเมกาสามจากปลาแล้ว การออกกำลังกายสมองเพื่อให้สมองได้ใช้งานครบทั้งสองด้านเป็นเรื่องที่สำคัญและจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เช่นการทำในสิ่งที่ไม่ค่อยได้ทำ ทำอะไรที่ไม่ทำเป็นกิจวัตร อาจจะวาดรูป ร้องเพลง ปลูกต้นไม้ เล่นกีฬา คิดเลขทำปริศนาอักษรไขว้หรือเล่นเกมฝึกทักษะการคิดให้สมองถูกใช้ หรือจะทำอะไรไปพร้อมๆสองอย่าง เช่นอาบน้ำไปร้องเพลงไป ออกกำลังกายไปร้องเพลงไป เหล่านี้ก็จะช่วยให้สมองได้ออกกายบริหารแล้วครับ"
และสำหรับบรรดาหนอนหนังสือทั้งหลาย งานนี้มีเฮ เพราะผอ.สถาบันประสาทวิทยาระบุชัดว่า กิจกรรมโปรดยามว่างของหลายๆ คนอย่าง "การอ่านหนังสือ" นั้น เป็นอีกหนึ่ง"ตัวช่วย" ในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน
*ที่มา/ภาพ: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน*
พูดถึงเรื่องออกกำลังกาย ร้อยทั้งร้อยทุกคนต้องรู้จัก แต่ถ้าจะเอ่ยถึงการ"ออกกำลังสมอง" หลายคนอาจจะไม่เข้าใจและไม่รู้ต้องทำอย่างไร อีกทั้งไม่ทราบว่าต้องทำไปเพื่ออะไร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาได้ให้ความกระจ่างว่าการออกกำลังกายสมองมีประโยชน์มาก เพราะนอกจากจะทำให้เป็นคนมีความจำดี คิดอะไรได้รวดเร็วแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย
นพ.มัยธัช สามเสน ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา แนะนำวิธีการออกกำลังกายสมองแบบง่ายๆ เพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ว่า ตามปกติคนทั่วไปจะทำอะไรเป็นกิจวัตร มีอิริยาบถที่ซ้ำๆ ทำให้สมองที่ถูกใช้ก็จะเป็นส่วนที่ซ้ำเดิม วิธีการออกกำลังกายสมองก็คือ ใช้สมองส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ และใช้ให้ครบทั้งสองส่วน ด้วยการทำกิจกรรมที่ไม่เคยทำ หรือทำกิจกรรมสองอย่างไปพร้อมกัน
"นอกจากการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และกินอาหารที่มีสารบำรุงสุขภาพ เช่นโอเมกาสามจากปลาแล้ว การออกกำลังกายสมองเพื่อให้สมองได้ใช้งานครบทั้งสองด้านเป็นเรื่องที่สำคัญและจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เช่นการทำในสิ่งที่ไม่ค่อยได้ทำ ทำอะไรที่ไม่ทำเป็นกิจวัตร อาจจะวาดรูป ร้องเพลง ปลูกต้นไม้ เล่นกีฬา คิดเลขทำปริศนาอักษรไขว้หรือเล่นเกมฝึกทักษะการคิดให้สมองถูกใช้ หรือจะทำอะไรไปพร้อมๆสองอย่าง เช่นอาบน้ำไปร้องเพลงไป ออกกำลังกายไปร้องเพลงไป เหล่านี้ก็จะช่วยให้สมองได้ออกกายบริหารแล้วครับ"
และสำหรับบรรดาหนอนหนังสือทั้งหลาย งานนี้มีเฮ เพราะผอ.สถาบันประสาทวิทยาระบุชัดว่า กิจกรรมโปรดยามว่างของหลายๆ คนอย่าง "การอ่านหนังสือ" นั้น เป็นอีกหนึ่ง"ตัวช่วย" ในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน
*ที่มา/ภาพ: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน*
ควาย..ย..ย (ข้อคิดดีๆ ลองอ่านดู)
ควาย..ย..ย (อ่านกันก่อนนะ)
ขณะที่ผมกำลังขับรถเดินทางไปจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นทางคดเคี้ยวบนเขาจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทันใดนั้นเองผมเห็นรถโผล่พ้นเหลี่ยมเขาซึ่งเป็นทางโค ้งวิ่งมาด้วยความเร็วลักษณะส่ายไปมาแถมยังกินเลนเข้า มายังถนนฝั่งของผม ทำให้ผมต้องเบรกจนตัวโก่งพร้อมกับหักรถหลบลงไหล่ทาง คนขับเป็นผู้หญิง ก่อนที่รถจะสวนกันเขาก็ชะโงกหน้าออก จากรถแล้วตะโกนด้วยเสียงดังว่า " ควาย...ย...ย "
มันทำให้ผมโมโหมากจึงตะโกนสวนออกไปว่า "E... ค...ว...า...ย " ขี่รถผิดกฎจราจรจนเกือบทำให้เกิดอุบัติเหตุไม่พอยังมาด่าเราอีก ยังดีนะที่เราด่ามันทันก่อนที่มันจะขับรถสวนพ้นไป มัวแต่นึกแค้นใจที่ถูกด่าอยู่นั้นทันทีที่ผมขับรถพ้น เหลี่ยมเขา " เอี๊ยด...เอี๊ยด...โครม... " รถผมก็ชนควายเข้าอย่างจัง
( ที่จริงแล้วเขาไม่ได้ด่าเรา แต่เขาบอกเราว่ามีฝูงควายอยู่ข้างหน้า เพราะกรอบความคิดที่เกิดจากประสบการณ์ของเราทำให้เราเข้าใจผิดคิดว่าความหวังดีที่ เตือนให้ระวังเพราะมีควายอยู่ข้างหน้า กลายเป็นการคิดว่าถูกด่าว่าเป็นควาย )
นี่คือโทษของการคิดอยู่แต่ในกรอบ และมองโลกในแง่ ร้ายเสมอ
10 เทคนิค หยุดวัยรุ่นคิดฆ่าตัวตาย
1. พูดคุยด้วยความสนใจ
2. สนับสนุนให้เขาได้พูด ได้ระบาย
3. รับฟังและพยายามเข้าใจมุมมองของเขา
4. บอกเขาว่าคุณรักและห่วงใย
5. ไม่ตัดสินว่าสิ่งนั้นผิดหรือถูก ไม่ดูถูกเขา
6. ไม่ขัดจังหวะให้เขาพูดจนจบ แม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วย
7. สนับสนุนให้เขาแสดงความรู้สึก แม้ว่าจะต้องร้องไห้
8. ไม่แนะนำแต่ช่วยกันหาทางออก หลังจากที่เขาได้แสดงความรู้สึกแล้ว พยายามให้เขาหาทางเลือกต่าง ๆ
9. ให้เวลาและโอกาสกับเขา ไม่เร่งเร้า
10. ถามคำถามปลายเปิด คือ ไม่ถามว่าใช่หรือไม่ เพื่อเขาจะได้หาทางออกได้
2. สนับสนุนให้เขาได้พูด ได้ระบาย
3. รับฟังและพยายามเข้าใจมุมมองของเขา
4. บอกเขาว่าคุณรักและห่วงใย
5. ไม่ตัดสินว่าสิ่งนั้นผิดหรือถูก ไม่ดูถูกเขา
6. ไม่ขัดจังหวะให้เขาพูดจนจบ แม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วย
7. สนับสนุนให้เขาแสดงความรู้สึก แม้ว่าจะต้องร้องไห้
8. ไม่แนะนำแต่ช่วยกันหาทางออก หลังจากที่เขาได้แสดงความรู้สึกแล้ว พยายามให้เขาหาทางเลือกต่าง ๆ
9. ให้เวลาและโอกาสกับเขา ไม่เร่งเร้า
10. ถามคำถามปลายเปิด คือ ไม่ถามว่าใช่หรือไม่ เพื่อเขาจะได้หาทางออกได้
พริกขี้หนูสดลดระดับน้ำตาลในเลือด
เผย Capsaicin ในพริก กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
Capsaicin ในพริกขี้หนู ซึ่งทำให้เกิดความเผ็ดร้อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางยา เชื่อกันว่ามีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
รศ.สุพีชา วิทยเลิศปัญญา ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิจัยเรื่อง “เภสัชจลนศาสตร์ของสาร Capsaicin ในพริกขี้หนูสด และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพริกขี้หนูสดต่อน้ำตาลในเลือดในอาสาสมัครสุขภาพดี” เพื่อพิสูจน์สรรพคุณของสาร Capsaicin ในพริกขี้หนูว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้หรือไม่
Capsaicin ว่าพบมากที่สุดบริเวณรกของพริกขี้หนู วิธีในการวิจัยระยะแรกจะศึกษานำร่องในอาสาสมัครจำนวน 2 ราย เพื่อพิสูจน์ปริมาณที่เหมาะสมของสาร Capsaicin ในพริกขี้หนูที่มีผลทำให้ระดับน้ำตาลลดลง
การวิจัยเลือกใช้พริกขี้หนูขนาด 5 กรัม ผลปรากฏว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้อย่างเห็นได้ชัด จากนั้นจึงทดลองในอาสาสมัครจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็น 12 ราย
อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งรับประทานพริกขี้หนูบรรจุในแคปซูลพร้อมกับน้ำตาลความเข้มข้นสูง อาสาสมัครอีกกลุ่มหนึ่งรับประทานแคปซูลเปล่า เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม จากนั้นจึงวัดระดับน้ำตาลในเลือดทุก 15 นาที ตั้งแต่เริ่มรับประทานยาเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ผลปรากฏว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัดในนาทีที่ 30 เป็นต้นไป
กลุ่มที่รับประทานพริกขี้หนูสดมีระดับน้ำตาลลดลงมากกว่ากลุ่มที่รับประทานแคปซูลเปล่า และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
นอกจากนี้ จากการวิจัยโดยให้กลุ่มอาสาสมัครที่รับประทานแคปซูลเปล่ามารับประทานพริกขี้หนูสด และเจาะเลือดวัดระดับอินซูลิน รวมทั้งวัดระดับ Capsaicin ในเลือดของอาสาสมัครกลุ่มที่รับประทานพริกขี้หนูสดที่บรรจุในแคปซูล ผลปรากฏว่าระดับอินซูลินในกลุ่มอาสาสมัครที่รับประทานพริกขี้หนูสดอยู่ในระดับคงที่ ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานพริกขี้หนูสดมีระดับอินซูลินลดลง
แสดงให้เห็นว่า Capsaicin จากพริกขี้หนูสดสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ ผลการวิจัยสรุปได้ว่าพริกขี้หนูสดขนาด 5 กรัมมีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินได้ ผลที่ได้น่าจะมาจากการที่ Capsaicin เข้าสู่ร่างกายและออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินนั่นเอง
รศ.สุพีชา กล่าวเสริมว่า นอกจากพริกขี้หนูสดแล้วยังมีสมุนไพรชนิดอื่น เช่น ใบหม่อน มะระขี้นก ฯลฯ ที่มีผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไป เพื่อใช้สมุนไพรดังกล่าวเสริมกับการรับประทานยาแผนปัจจุบัน สำหรับงานวิจัยที่จะทำต่อไปในอนาคตจะศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานต่อไป
ลดความเครียด ทำสมาธิ
คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าทำไมจึงเครียด เพราะไม่เคยสังเกตเฝ้าดูใจตัวเองอย่างตรงไปตรงมา บางคนความเครียดจะสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลาจนเกิดอาการไม่สบาย เช่น ปวดเมื่อยต้นคอ ศีรษะ หนักหัว มึนงง นอนไม่หลับ เป็นต้น
วิธีจัดการกับความเครียดมี 2 วิธีใหญ่ คือ วิธีทางอ้อม และ วิธีทางตรง วิธีทางอ้อม ได้แก่ การคลายเครียดด้วยวิธีต่างๆ เมื่อเกิดความเครียดขึ้นแล้ว เช่น พักผ่อนหย่อนใจ ดูหนัง ฟังเพลง หัวเราะ ตั้งวงกินเหล้า เป็นต้น ส่วนวิธีทางตรง คือวิธีที่สามารถระงับหรือป้องกันไม่ให้เครียด เช่น การตั้งสติเผชิญกับสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เครียด การเจริญสมาธิ เป็นต้น ซึ่งมีถึง 40 วิธี วิธีที่นิยมมากคือ อาณาปานสติ โดยการกำหนดลมหายใจเข้าออกจนจิตสงบตั้งมั่น อิริยาบถใหญ่ทั้ง 4 ของคนเราก็เจริญสมาธิได้ เช่น นั่งสมาธิแบบพุทธหรือแบบชี่กง นอนท่าศพแบบโยคะ ยืนอรหันต์แบบชี่กง หรือ เดินจงกรมแบบพุทธ โดยใช้ใจที่มีสมาธิพิจารณาความเครียด
ตัวอย่างวิธีการนั่งสมาธิอย่างง่าย
1.เวลาที่นั่งสมาธิควรเป็นเวลาที่ไม่หิว ไม่อิ่ม ไม่กลั้นอุจจาระ/ปัสสาวะ นั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพึงหรือไม่พึงพนักในท่าที่สบาย ยืดตัวตรง มือทั้งสองวางบนหน้าตัก ผ่อนคลายทั้งตัว(ท่าทาง)
2.กำหนดใจให้สนใจแต่เสียงเพลงสวดหรือเพลงบรรเลง หายใจเข้าออกช้าๆ ยาวๆ (วิตก)
3.ถ้าใจคิดถึงเรื่องใดๆ ให้กำหนดใจกลับมาที่เสียงเพลงทุกครั้ง ประคองใจไว้ (วิจาร)
4.ถ้ามีอาการบางอย่างเกิดขึ้นในร่างกาย เช่น ร้อน ชา น้ำมูกน้ำตาไหล เป็นต้น (ปีติ) ให้เฝ้าดูอาการนั้นไปเรื่อย ๆ ใจยังกำหนดอยู่ที่เสียงเพลง จนรู้สึกความสงบสุขในใจ (ปัสสัทธิ สุข)
5.รู้สึกกายผ่อนคลาย ใจโปร่งเบา ปล่อยวางจากความเครียดต่างๆ ถ้าใจสมาธิจิตขณะนั้น มาพิจารณาเหตุปัจจัยในการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดจะทำให้เราเข้าใจความเป็นจริงของการใช้ชีวิตของเราได้อย่างชัดแจ้งขึ้น ปัญหาอุปสรรคต่างๆ มักจะได้คำตอบ (วิปัสสนา) พฤติกรรมสุขภาพก็จะตามมาได้ หมั่นเจริญสมาธิวิปัสสนาเป็นประจำจะมีสุข ห่างไกลจากโรคภัยตลอดไป
*ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน*
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)