ผู้ปกครองหวั่นทำเด็กติดหนักมากขึ้น
ลองมาทบทวนกันดูหน่อยนะคะว่ากฎกระทรวงประกอบภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551 จำนวน 2 ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอะไรกันบ้าง ในที่นี้ดิฉันขอเฉพาะเจาะจง ว่าด้วยเรื่องของร้านเกมล้วนๆ ค่ะ
กำหนดระยะเวลาในการเล่นเกม และการใช้บริการร้านเกมของเด็กที่ผ่านกฎกระทรวง มีดังนี้
1) เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เข้าใช้บริการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ได้ตั้งแต่เวลา 14.00 - 20.00 น. และตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ในวันหยุดราชการ และวันปิดภาคเรียน
2) เด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 18 ปีเข้าใช้บริการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ได้ตั้งแต่เวลา 14.00 - 22.00 น. และตั้งแต่เวลา 10.00 - 22.00 น. ในวันหยุดราชการ และวันปิดภาคเรียน
หรือถ้าใช้ภาษาของร้านเกม ที่ส่งรายละเอียดผ่านเว็บไซต์แจ้งลูกค้าทางอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายก็คือ
ร้านเกม เวลา เปิด - ปิด 08.00 - 02.00 ของทุกวัน
ร้านอินเทอร์เน็ต เวลา เปิด - ปิด ตลอดเวลาทำการ ข้อห้าม วันจันทร์ - ศุกร์
เด็กต่ำกว่า 15 ปี 14.00 - 20.00 น.
เด็กต่ำกว่า 18 ปี 14.00 - 22.00 น.
วันหยุด วันปิดการเรียน เด็กต่ำกว่า 15 ปี 10.00 - 20.00 น.
อายุ 18 ปี 10.00 - 22.00 น.
และก็มีประโยคห้อยท้ายว่า "มีวิธีให้ท่านสมาชิกสามารถเปิดได้ 24 ชม.ได้ 365 วัน"
ขณะเดียวกัน ลองมาดูกฎกระทรวงเมื่อปี 2549 ก่อนที่จะมีการแก้ไขล่าสุด มีสาระสำคัญในเรื่องการควบคุมร้านเกมว่า ให้ควบคุมร้านเกมเหมือนกับร้านจำหน่ายสุรา คือ กำหนดอายุเด็ก 7 - 18 ปีห้ามเล่นเกิน 3 ชม. ตั้งแต่ 16.00 - 18.00 น. ในวันจันทร์ - ศุกร์ ส่วนเสาร์ - อาทิตย์ ให้เป็นไปตามเดิมแล้ว ทั้งยังห้ามไม่ให้อยู่ใกล้สถานศึกษา 500 เมตร และไม่ควรอยู่ในย่านชุมชน
เหตุผลในขณะนั้นเพราะเป็นกังวลต่อผลกระทบจากร้านเกมที่มีต่อเด็กนักเรียน เช่น ทำให้เด็กมีเวลาอยู่กับครอบครัวน้อยลงและไม่มีเวลาดูหนังสือ เป็นต้น ที่ประชุมจึงได้มีข้อเสนอแนะที่จะให้จำกัดอายุเด็ก และเวลาในการเล่นเกม โดยจะขอให้มีการแก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 12 พ.ศ. 2549 ในประเด็นอายุว่าควรกำหนดอายุของเด็กไว้ที่ 7 - 18 ปี และให้เข้าร้านเกมเล่นได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 16.00 - 18.00 น. ในวันจันทร์ศุกร์ ส่วนวันเสาร์ - อาทิตย์ก็ให้เป็นไปตามประกาศเดิม
สำหรับสถานที่ที่เปิดร้านเกม ก็จะขอให้ควบคุมเช่นเดียวกับการเปิดร้านจำหน่ายสุราที่ไม่ควรอนุญาตให้เปิดในรัศมี 500 เมตรรอบสถานศึกษา และไม่ควรให้อยู่ในย่านชุมชนด้วยคุณผู้อ่านรู้สึกอย่างไร ?
โดยเฉพาะคนเป็นพ่อแม่ คุณรู้สึกอย่างไร? เหตุไฉนการแก้ไขกฎกระทรวงกลับกลายเป็นว่าเด็กสามารถเข้าถึงร้านเกมในช่วงเวลาได้มากขึ้นกว่าเดิม ในทางตรงกันข้าม เท่ากับเอื้อประโยชน์ให้บรรดาร้านเกมมากขึ้นอีกต่างหาก
บรรดาคนเป็นพ่อแม่ที่ดิฉันได้มีโอกาสสัมผัส รวมถึงเปิดสายโทรศัพท์ผ่านทางคลื่นวิทยุที่ดิฉันเป็นผู้ดำเนินรายการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของคนเป็นพ่อแม่ต่อกรณีดังกล่าว ไม่มีใครเห็นด้วยต่อกฎกระทรวงล่าสุดที่ผ่านไปแล้วครั้งนี้ พร้อมทั้งบอกตรงกันว่าไม่เข้าใจว่าเหตุไฉนภาครัฐจึงปล่อยให้ผ่านไปได้
อีกทั้งประชาชนก็ไม่มีโอกาสมีปากมีเสียงต่อกรณีดังกล่าว ล่าสุด นพ.บัณฑิต ศรไพศาล จากสถาบันจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะได้อย่างน่าสนใจว่าปัญหาเรื่องเด็กติดเกมในปัจจุบันสถานการณ์รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
ตัวเลขจากกรมสุขภาพจิตพบเด็กที่ติดเกมรุนแรงเมื่อ 3 ปีที่แล้ว จำนวน 5% ต่อจำนวนประชากรเด็กทั้งหมด ปัจจุบันตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 9% และเด็กที่พบเป็นเด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในอดีตพบเด็กระดับมัธยมปลายเป็นปัญหามากที่สุด และขยับลงมาเป็นระดับมัธยมต้นปัจจุบันที่น่าเป็นห่วงลงมาถึงระดับประถมตอนปลาย
สาเหตุหลักมาจาก 2 ปัจจัย
ปัจจัยภายใน เกิดจากการที่เด็กต้องการได้รับการยอมรับอยากเป็นฮีโร่ และในโลกของเกมเขาสามารถเป็นได้รวมถึงเด็กไม่ได้รับการฝึกฝนเรื่องวินัยมาตั้งแต่เล็ก ก็เลยไม่สามารถหยุดเล่นเกมได้
ปัจจัยภายนอก เพราะเด็กสามารถเข้าถึงเกมได้ง่าย บางบ้านก็มีคอมพิวเตอร์ในบ้าน บางบ้านที่ไม่มี เด็กก็สามารถไปร้านเกมได้ไม่ยาก
แล้ววิธีป้องกัน ?
หนึ่ง - คนส่วนนี้เกี่ยวข้องกับพ่อแม่โดยตรง พ่อแม่ต้องเรียนรู้วิธีการดูแลลูกให้มากขึ้น ต้องมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบและสร้างวินัยให้แก่ลูกตั้งแต่ยังเล็ก
สอง - สิ่งแวดล้อมส่วนนี้เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ชุมชน ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย มีกิจกรรมที่เหมาะสม และทางเลือกให้แก่เด็กอย่างสม่ำเสมอ
สาม - ภาครัฐนั่นก็คือการจัดระเบียบร้านเกม ควบคุมการเปิดปิด รวมถึงการจัดเรตติ้ง และคำนึงถึงสถานที่ตั้ง
เรียกว่า ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมต่อปัญหาเรื่องเด็กติดเกมข้อหนึ่งและข้อสอง เข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องของคนเป็นพ่อแม่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ที่ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบไปได้ แต่ข้อสามนี่สิ เหตุใดจึงช่วยสนับสนุนให้ขยายช่วงจำกัดเวลาของร้านเกมให้มากขึ้น
ที่ผ่านมาการบังคับใช้กฎหมายดีๆ ในบ้านเราก็ไม่ค่อยได้ผลอยู่แล้ว ขนาดกฎกระทรวงครั้งนี้เอื้อให้แก่ร้านเกมเป็นอย่างมาก บรรดาร้านเกมเขาก็ยังมีเทคนิคบอกลูกค้ากันแล้วผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตว่ามีวิธีเล่นเกมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ยอมรับเถอะค่ะ...เรื่องเทคโนโลยีกับคนรุ่นใหม่ไปเร็วกว่าที่เราคิดเยอะ ยิ่งถ้าไม่เข้มงวดต่อมาตรการที่ต้องควบคุมเด็กและเยาวชนแล้วล่ะก็ น่าเป็นห่วงอย่างมาก
ดิฉันพยายามมองหาเหตุผลดีๆ เกี่ยวกับการประกาศกฎกระทรวงครั้งนี้ ว่าจะช่วยปกป้องเด็กและเยาวชนของเราได้อย่างไร มีอะไรซ่อนอยู่ที่เรามองไม่เห็นหรือเปล่าหนอ..!!
อยากจะถามดังๆ ว่าท้ายสุดใครคือคนที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ หากมาตรการล่าสุดมีส่วนต่อการทำให้เด็กติดเกมเพิ่มมากขึ้นและกลายเป็นผลเสียต่อสังคมโดยรวม
*ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTV ผู้จัดการ*
กำหนดระยะเวลาในการเล่นเกม และการใช้บริการร้านเกมของเด็กที่ผ่านกฎกระทรวง มีดังนี้
1) เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เข้าใช้บริการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ได้ตั้งแต่เวลา 14.00 - 20.00 น. และตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ในวันหยุดราชการ และวันปิดภาคเรียน
2) เด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 18 ปีเข้าใช้บริการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ได้ตั้งแต่เวลา 14.00 - 22.00 น. และตั้งแต่เวลา 10.00 - 22.00 น. ในวันหยุดราชการ และวันปิดภาคเรียน
หรือถ้าใช้ภาษาของร้านเกม ที่ส่งรายละเอียดผ่านเว็บไซต์แจ้งลูกค้าทางอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายก็คือ
ร้านเกม เวลา เปิด - ปิด 08.00 - 02.00 ของทุกวัน
ร้านอินเทอร์เน็ต เวลา เปิด - ปิด ตลอดเวลาทำการ ข้อห้าม วันจันทร์ - ศุกร์
เด็กต่ำกว่า 15 ปี 14.00 - 20.00 น.
เด็กต่ำกว่า 18 ปี 14.00 - 22.00 น.
วันหยุด วันปิดการเรียน เด็กต่ำกว่า 15 ปี 10.00 - 20.00 น.
อายุ 18 ปี 10.00 - 22.00 น.
และก็มีประโยคห้อยท้ายว่า "มีวิธีให้ท่านสมาชิกสามารถเปิดได้ 24 ชม.ได้ 365 วัน"
ขณะเดียวกัน ลองมาดูกฎกระทรวงเมื่อปี 2549 ก่อนที่จะมีการแก้ไขล่าสุด มีสาระสำคัญในเรื่องการควบคุมร้านเกมว่า ให้ควบคุมร้านเกมเหมือนกับร้านจำหน่ายสุรา คือ กำหนดอายุเด็ก 7 - 18 ปีห้ามเล่นเกิน 3 ชม. ตั้งแต่ 16.00 - 18.00 น. ในวันจันทร์ - ศุกร์ ส่วนเสาร์ - อาทิตย์ ให้เป็นไปตามเดิมแล้ว ทั้งยังห้ามไม่ให้อยู่ใกล้สถานศึกษา 500 เมตร และไม่ควรอยู่ในย่านชุมชน
เหตุผลในขณะนั้นเพราะเป็นกังวลต่อผลกระทบจากร้านเกมที่มีต่อเด็กนักเรียน เช่น ทำให้เด็กมีเวลาอยู่กับครอบครัวน้อยลงและไม่มีเวลาดูหนังสือ เป็นต้น ที่ประชุมจึงได้มีข้อเสนอแนะที่จะให้จำกัดอายุเด็ก และเวลาในการเล่นเกม โดยจะขอให้มีการแก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 12 พ.ศ. 2549 ในประเด็นอายุว่าควรกำหนดอายุของเด็กไว้ที่ 7 - 18 ปี และให้เข้าร้านเกมเล่นได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 16.00 - 18.00 น. ในวันจันทร์ศุกร์ ส่วนวันเสาร์ - อาทิตย์ก็ให้เป็นไปตามประกาศเดิม
สำหรับสถานที่ที่เปิดร้านเกม ก็จะขอให้ควบคุมเช่นเดียวกับการเปิดร้านจำหน่ายสุราที่ไม่ควรอนุญาตให้เปิดในรัศมี 500 เมตรรอบสถานศึกษา และไม่ควรให้อยู่ในย่านชุมชนด้วยคุณผู้อ่านรู้สึกอย่างไร ?
โดยเฉพาะคนเป็นพ่อแม่ คุณรู้สึกอย่างไร? เหตุไฉนการแก้ไขกฎกระทรวงกลับกลายเป็นว่าเด็กสามารถเข้าถึงร้านเกมในช่วงเวลาได้มากขึ้นกว่าเดิม ในทางตรงกันข้าม เท่ากับเอื้อประโยชน์ให้บรรดาร้านเกมมากขึ้นอีกต่างหาก
บรรดาคนเป็นพ่อแม่ที่ดิฉันได้มีโอกาสสัมผัส รวมถึงเปิดสายโทรศัพท์ผ่านทางคลื่นวิทยุที่ดิฉันเป็นผู้ดำเนินรายการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของคนเป็นพ่อแม่ต่อกรณีดังกล่าว ไม่มีใครเห็นด้วยต่อกฎกระทรวงล่าสุดที่ผ่านไปแล้วครั้งนี้ พร้อมทั้งบอกตรงกันว่าไม่เข้าใจว่าเหตุไฉนภาครัฐจึงปล่อยให้ผ่านไปได้
อีกทั้งประชาชนก็ไม่มีโอกาสมีปากมีเสียงต่อกรณีดังกล่าว ล่าสุด นพ.บัณฑิต ศรไพศาล จากสถาบันจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะได้อย่างน่าสนใจว่าปัญหาเรื่องเด็กติดเกมในปัจจุบันสถานการณ์รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
ตัวเลขจากกรมสุขภาพจิตพบเด็กที่ติดเกมรุนแรงเมื่อ 3 ปีที่แล้ว จำนวน 5% ต่อจำนวนประชากรเด็กทั้งหมด ปัจจุบันตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 9% และเด็กที่พบเป็นเด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในอดีตพบเด็กระดับมัธยมปลายเป็นปัญหามากที่สุด และขยับลงมาเป็นระดับมัธยมต้นปัจจุบันที่น่าเป็นห่วงลงมาถึงระดับประถมตอนปลาย
สาเหตุหลักมาจาก 2 ปัจจัย
ปัจจัยภายใน เกิดจากการที่เด็กต้องการได้รับการยอมรับอยากเป็นฮีโร่ และในโลกของเกมเขาสามารถเป็นได้รวมถึงเด็กไม่ได้รับการฝึกฝนเรื่องวินัยมาตั้งแต่เล็ก ก็เลยไม่สามารถหยุดเล่นเกมได้
ปัจจัยภายนอก เพราะเด็กสามารถเข้าถึงเกมได้ง่าย บางบ้านก็มีคอมพิวเตอร์ในบ้าน บางบ้านที่ไม่มี เด็กก็สามารถไปร้านเกมได้ไม่ยาก
แล้ววิธีป้องกัน ?
หนึ่ง - คนส่วนนี้เกี่ยวข้องกับพ่อแม่โดยตรง พ่อแม่ต้องเรียนรู้วิธีการดูแลลูกให้มากขึ้น ต้องมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบและสร้างวินัยให้แก่ลูกตั้งแต่ยังเล็ก
สอง - สิ่งแวดล้อมส่วนนี้เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ชุมชน ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย มีกิจกรรมที่เหมาะสม และทางเลือกให้แก่เด็กอย่างสม่ำเสมอ
สาม - ภาครัฐนั่นก็คือการจัดระเบียบร้านเกม ควบคุมการเปิดปิด รวมถึงการจัดเรตติ้ง และคำนึงถึงสถานที่ตั้ง
เรียกว่า ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมต่อปัญหาเรื่องเด็กติดเกมข้อหนึ่งและข้อสอง เข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องของคนเป็นพ่อแม่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ที่ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบไปได้ แต่ข้อสามนี่สิ เหตุใดจึงช่วยสนับสนุนให้ขยายช่วงจำกัดเวลาของร้านเกมให้มากขึ้น
ที่ผ่านมาการบังคับใช้กฎหมายดีๆ ในบ้านเราก็ไม่ค่อยได้ผลอยู่แล้ว ขนาดกฎกระทรวงครั้งนี้เอื้อให้แก่ร้านเกมเป็นอย่างมาก บรรดาร้านเกมเขาก็ยังมีเทคนิคบอกลูกค้ากันแล้วผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตว่ามีวิธีเล่นเกมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ยอมรับเถอะค่ะ...เรื่องเทคโนโลยีกับคนรุ่นใหม่ไปเร็วกว่าที่เราคิดเยอะ ยิ่งถ้าไม่เข้มงวดต่อมาตรการที่ต้องควบคุมเด็กและเยาวชนแล้วล่ะก็ น่าเป็นห่วงอย่างมาก
ดิฉันพยายามมองหาเหตุผลดีๆ เกี่ยวกับการประกาศกฎกระทรวงครั้งนี้ ว่าจะช่วยปกป้องเด็กและเยาวชนของเราได้อย่างไร มีอะไรซ่อนอยู่ที่เรามองไม่เห็นหรือเปล่าหนอ..!!
อยากจะถามดังๆ ว่าท้ายสุดใครคือคนที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ หากมาตรการล่าสุดมีส่วนต่อการทำให้เด็กติดเกมเพิ่มมากขึ้นและกลายเป็นผลเสียต่อสังคมโดยรวม
*ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTV ผู้จัดการ*
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น